วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social Network



Social Network


Social Network หมายถึงการที่มนุษย์สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ทำความรู้จักกัน สื่อสารถึงกันได้ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ (Social Network) ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกัน มีการให้พื้นที่ บริการเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย สร้างเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภท (Social Network) เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหากำไร

เมื่อไม่อาจปฏิเสธเทคโนโลยีโซเชียลเน็ตเวิร์กในโลกออนไลน์ ที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากได้ ผู้ใช้สื่อควรทำอย่างไรให้การใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะเข้ามาแทนที่การปฏิสัมพันธ์กันในชีวิตจริงเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
       

Social Network คืออะไร



โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว)  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง


การจัดประเภทของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นสามารถแยกได้ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น

1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก  ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด  ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน  สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ  ติดตาม  หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น
2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter
3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น

1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น
2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network)  เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น


พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ของคนไทย

พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้น

                      ในแง่ของการอธิบายถึงปรากฎการณ์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยังมีการอธิบายผ่านคำว่า Social network service หรือ SNS เป็นการเน้นไปที่การสร้างชุมชนออนไลน์ซึ่งผู้คนสามารถที่จะแลกเปลี่ยน แบ่งปันตามผลประโยชน์ กิจกรรม หรือความสนใจเฉพาะเรื่อง ซึ่งอาศัยระบบพื้นฐานของเว็บไซต์ที่ทำให้มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้คนโดยแต่ละเว็บนั้นอาจมีการให้บริการที่ต่างกัน เช่น email กระดานข่าว และในยุคหลังๆมานี้ เป็นการแบ่งปันพื้นที่ให้สมาชิกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกันและแบ่งปันข้อมูลระหว่างโดยผู้คนสามารถสร้างเว็บเพจของตนเองโดยอาศัยระบบซอฟท์แวร์ที่เจ้าของเว็บให้บริการ
ในขณะเดียวกัน Howard Rheingold ได้เขียนคำจำกัดความของคำว่า virtual Community ในหนังสือ virtual communy ว่าหมายถึง การสื่อสาร และ ระบบข้อมูล ของบรรดาเครือข่ายสังคม ซึ่งแบ่งปันในผลประโยชน์ร่วมกัน ความคิด ชิ้นงาน หรือ ผลลัพธ์บางประการที่มีการโต้ตอบกันผ่านสังคมเสมือนจริง ซึ่งไม่ถูกผูกพันโดยเวลา พรมแดน เขตแดนของหน่วยงาน และในทุกๆที่ที่บุคคลสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านระบบออนไลน์





           สำหรับตัวอย่าง Social Network อื่น ๆ เช่น twitter หรือว่า Facebook ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น social network เต็มรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง ที่ให้ผู้คนได้มามีพื้นที่ ได้ทำความรู้จักกันโดยเลือกได้ว่า ต้องการทำความรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร
เมื่อหันมามองเว็บไซต์ไทย ๆ กันดูบ้าง หากมองว่าเว็บไซต์ Social Network ในไทย จะมีเว็บไหนได้บ้าง ลองดูเว็บไซต์ Social Network ที่มีความชัดเจนในเนื้อหาเฉพาะด้าน เช่น Social Network เรื่องท่องเที่ยว อย่างเว็บไซต์ odoza (โอโดซ่า) ที่ให้คนที่ชื่นชอบในเรื่องท่องเที่ยว ได้มาทำความรู้จักกัน ได้มีพื้นที่ให้ share รูปภาพ หรือวีดีโอคลิป ที่ตนเองได้ไปเที่ยวมาได้่
ในขณะที่ การแบ่งหมวดหมู่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ได้จำแนกหมวดหมู่ หรือ ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้ใน บทบาทของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 โดยพิจารณาจากเป้าหมายของการเข้าเป็นสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้เป็น ๕ กลุ่มใหญ่ๆ กล่าวคือ
(๑) Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น http://www.hi5.com/ http://www.facebook.com/
(๒) Interested Network เป็นการรวมตัวกันโดยอาศัย“ความสนใจ” ตรงกัน เช่น Digg.com
(๓) Collaboration Network เป็นกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกัน “ทำงาน”
(๔) Gaming/Virtual Reality หรือ โลกเสมือน ในบางครั้งเราเจอคำว่า second life ซึ่งเป็นลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นในชีวิตจริงกับตัวละครในเกม และ (๕) Professional Network ใช้งานในอาชีพ “
บริการเครือข่ายสังคม ( social network service) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกมโดยใช้บัตรเติมเงิน


ทางจิตวิทยา

  • เครือข่ายสังคมเป็นหนึ่งในวิธีชักจูงที่ง่ายที่สุด เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านช่องทางนี้ จะไปได้กว้างและค่อนข้างเร็ว
  • เครือข่ายสังคมเป็นอันตรายต่อความเป็นส่วนตัว เนื่องจากมีเหตุร้ายหลายประเภทที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเครือข่ายสังคม ฉะนั้นจึงไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นส่วนตัว รวมถึงไปสื่อต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม ถึงแม้ว่าจะตั้งค่าความเป็นส่วนตัวแล้วก็ตาม
  • การใช้ Open Source หรือเขียนโปรแกรม เครือข่ายสังคมปลอดภัยกว่าใช้ เครือข่ายสังคมที่มีชื่อเสียง

ในแง่การใช้งาน

ความเป็นส่วนตัว

ในปัจจุบันระบบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวค่อนข้างจะละเอียดมากขึ้น แต่ในมุมหนึ่งก็เป็นดาบสองคมเพราะว่าการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวสูงก็มักจะมีผู้ไม่หวังดีแอบเอาข้อมูลปลอมหรือทำในทางไม่ดีกับบุคคลเหล่านั้นได้ โดยโซโช่วเนตเวอร์คตัวใหม่ๆมักจะมีระบบความเป็นส่วนตัวที่ละเอียดยิ่งขึ้น ปัญหาความเป็นส่วนตัวในหลายๆกรณีมักจะสื่อถึงจิตใจคนได้อย่างมากรวมถึงระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์เก่าๆนั้นที่จะต้องมีระบบการเพิ่มรายชื่อเพื่อนกับการรับเพื่อน

การแจ้งเตือน

สำหรับบางเว็บไซต์จะไม่มีการแจ้งเตือนเช่น วิกิพีเดีย มายสเปซ ซึ่งการแจ้งเตือนคือเมื่อมีผู้ใช้รายอื่นเคลื่อนไหวอะไรก็จะส่งข้อความมาถึงเรา
เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะไม่มีการแจ้งเตือนเรื่องการลบเพื่อนออก

การคุ้มครองเด็ก

ในปัจจุบันนี้เว็บไซต์ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยจะมีระบบการคุ้มครองเด็กเท่าที่ควร เพราะยังเน้นต้องการโฆษณาเว็บไซต์ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก และรวมถึงทั้งแฟนเพจต่างๆของเฟดบุกที่ไม่คุ้มครองอาจจะนำพาสู่ความไม่ดีต่อเด็กเป็นได้

การก่อกวน เครือข่ายสังคมย่อมมาพร้อมกับการก่อกวน เพราะเนื่องจากเกมส์ออนไลน์เริ่มมีมาก่อน และการก่อกวนนั้นจะก่อให้เกิดความโมโหการรำคาญเพียงเพื่อความสนุก เช่น การสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอม การใส่ภาพที่ไม่เหมาะสม หรือการว่าร้าย เป็นต้น


    ภาพที่พบเห็นในปัจจุบัน คือไม่ว่าจะไปทำอะไร ที่ไหน ภาพผู้คนในสังคมไทย คือต่างยกโทรศัพท์มือถือมาถ่ายรูปแล้วโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย หรือแต่ละคนกลายเป็นสังคมก้มหน้า สนใจแต่ความเคลื่อนไหวในหน้าจอเทคโนโลยีในมือ มากกว่าจะสนใจผู้คนหรือสิ่งรอบข้าง จนเหมือนว่า แต่ละคนมีโลกส่วนตัวและเรื่องราวต้องทำมากมายในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้น อาจส่งผลในเวลาไม่นานนี้ การปฏิสัมพันธ์หรือพูดคุยระหว่างผู้คน คงเปลี่ยนรูปแบบไปสู่การเขียนบนหน้าจอเทคโนโลยีในมือ แทนการพูดด้วยปากที่ได้ยินเสียง อันแสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึกและการรับรู้ระหว่างกัน จนในที่สุด ความเพิกเฉยต่อการรับรู้ ความรู้สึกระหว่างกัน จะลดน้อยลงไปตามลำดับ ถึงขั้นลืมวิธีการปฏิสัมพันธ์กันในชีวิตจริง
       
       ผลการวิจัยของเชอร์รี ทัคเกิล ศาสตราจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) ระบุว่า ความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์นั้น อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในโลกแห่งความเป็นจริง โดยอาจทำให้รู้สึกเพิกเฉยต่อบุคคลอื่นหรือเรื่องใดๆ ก็ตามที่รู้สึกเบื่อ จนสร้างกำแพงขึ้นในการสนทนาจริง ขณะเดียวกัน การแชตออนไลน์ ยังมีเวลาคิดที่จะพิมพ์ตอบโต้นานกว่าการสนทนาต่อหน้า ซึ่งอาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารในชีวิตจริงตามมา และในไม่ช้าก็อาจทำให้ถึงกับลืมวิธีที่จะจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมแห่งความเป็นจริงไป นอกจากนี้ผลการวิจัยของ ได้สรุปว่า คนที่ชอบสนทนาออนไลน์อย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่ายนั้น จะไม่สามารถสื่อสารได้เหมือนอย่างที่ใจคิดในโลกแห่งความเป็นจริง จนอาจทำให้บางคนต้องเรียนรู้วิธีที่จะคุยกันต่อหน้าแบบปกติอีกครั้ง การพูดคุยผ่านทางหน้าจอ อาจทำให้ผู่สนทนาด้วยมีความรู้สึกที่ไม่ตรงกัน ไม่เข้าใจเจตนาที่แท้จริง และส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันได้ การหันหน้าคุยกันน่าจะเป็นวิธีที่ดีของสังคมมนุษย์มากกว่า


       ผู้เขียนรู้สึกห่วงใยถึงมาตรการดูแล ป้องกันและควบคุมการใช้เทคโนโลยีโซเชียลเน็ตเวิร์กในโลกออนไลน์ ในเด็กและเยาวชน ซึ่งหากไร้ผู้ปกครอง พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่คอยดูแลเอาใจใส่ อาจทำให้เกิดผลเสียตามมามากกว่าผลลัพธ์ที่จะได้จากการใช้เทคโนโลยี เพราะปัจจุบันนี้ มีข่าวอาชญากรรมและความรุนแรงในครอบครัว เด็กและวัยรุ่นเกิดจากการใช้เทคโนโลยีโซเชียลเน็ตเวิร์กมากเกินไป 
       
       ข้อความห่วงใยนี้ เป็นไปในทิศทางเดียวกับข้อเขียนในหนังสือเรื่อง อโลน ทูเกเตอร์ ของเชอร์รี ทัคเกิล ศาสตราจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) ที่ย้ำถึงความกังวล เรื่องโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งจะทำให้คนกลับโดดเดี่ยวมากขึ้น และมีความเป็นมนุษย์น้อยลง ถึงกับเรียกโซเชียลมีเดียว่าเป็น “ความบ้าคลั่งของยุคสมัยใหม่” เนื่องจากเป็นโลกเสมือนจริง ที่ทำให้คนหนีห่างออกจากโลกของความเป็นจริงกันมากขึ้น และทำให้คนมีปัญหาพฤติกรรม


       
       ข้อเสนอแนะที่คิดว่า น่าจะทดแทนการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลเน็ตเวิร์กในโลกออนไลน์ได้ คือควรหันหลังให้สิ่งเหล่านั้นบ้าง แล้วหันหน้าไปพบปะกับผู้คน สังคมในโลกแห่งความเป็นจริง อย่างน้อยก็ทำกิจกรรมอดิเรกโดยมีปฏิสัมพันธ์สื่อสารระหว่างผู้คน เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หรือไม่ก็อ่านหนังสือแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่อ่านกับผู้อื่น หรือว่าใช้เวลาทำกิจกรรมหาความรู้ สร้างความสามารถพิเศษและพัฒนาทักษะสำคัญ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในวันหน้า การพบปะพูดคุย สื่อสารกันเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่เขินอายเมื่ออยู่ต่อหน้าคนหมู่มาก มีความมั่นใจ ดีกว่าการคุยกันแต่ในแชท ผ่านทางโซเชียล ถึงแม้จะประหยัดเวลา สะดวกรวดเร็ว แต่คุณค่าทางความรู้สึกนั้นแตกต่างกันกับการได้เห็นหน้ากันได้พูดคุยกันโดยตรง 

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/socialnetwork057/khwam-hmay-khxng-socialnetwork
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000129438
https://wikipedia.org.co.th
https://www.google.co.th/webhp?sourceid=chrome-instant&ion=1&espv=2&ie=UTF-8#q=social+network+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น